Yeossal: กางเกวเอวสูง Made-To-Measure จากสิงคโปร์ที่ “ไม่ธรรมดา”

กางเกง Double Forward Pleat จาก Yeossal ผ้า Cotton สี Taupe จาก Huddersfield แบบ Made-To-Measure

กางเกง Double Forward Pleat จาก Yeossal ผ้า Cotton สี Taupe จาก Huddersfield แบบ Made-To-Measure

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่จำกัดในเรื่องของการเดินทางไปยังประเทศต่างๆทำให้การสั่งกางเกง แจ็คเก็ต หรือสูทแบบสั่งตัดโดยเฉพาะ Made-To-Measure หรือ Bespoke ทำได้อย่างยากลำบาก ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านช่างตัดสูทไม่สามารถบินเข้ามาประเทศไทยเพื่อรับออเดอร์หรือทำหารฟิตติ้งได้ และเราก็บินไปหาช่างเพื่อฟิตติ้งไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงมี Tailor หลายเจ้าที่เริ่มเปิดโมเดลในรูปแบบ “Remote Bespoke” หรือเป็นการส่งเฉพาะตัว Garment มาให้เราใส่และฟิตติ้งผ่านหน้ากล้องกันผ่าน VDO Conference แต่มีหนึ่งเจ้าที่สะดุดตาผมเพราะเป็น Luxury Boutiqye ตรงสาย Classic Menswear ที่เปิดทำการอยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง “Yeossal” 

ป้าย Tag จาก Yeossal บริเวณด้านในเอวกางเกง

ป้าย Tag จาก Yeossal บริเวณด้านในเอวกางเกง

Yeossal เป็น Boutique อยู่ในประเทศสิงคโปร์ที่จำหน่ายทุกๆอย่างเกี่ยวกับ Sartorial Menswear ตั้งแต่แจ็คเก็ต กางเกง เสื้อเชิ้ต โปโล ไปจนถึงรองเท้า โดยทั้งหมดเป็น In-House Brand ยกเว้นรองเท้าที่ให้ Shoemakers เจ้าอื่นทำให้ เราสามารถซื้ออะไรก็ของเค้าได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ที่มีทั้ง Ready-To-Wear และ Made-To-Order

ดูคร่าวๆแล้วไม่มีอะไรแปลกใหม่ใช่มั้ยครับ แต่สิ่งที่ผมสะดุดตาคือ “กางเกง” ของเค้า เพราะเราสามารถสั่งกางเกงแบบ “Made-To-Measure” ได้โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจาก Made-To-Order ในไลน์ปกติ นอกจากนั้นออปชั่นการปรับสัดส่วนถือว่าเป็น MTM โดยสมบูรณ์ และเราสามารถเลือก Customize ดีเทลแต่ละจุดบนตัวกางเกงได้เยอะมาก คือสั่งเสร็จจ่ายเงินปั้ปรอใส่กางเกงตัวเสร็จได้เลย

กางเกง Double Forward Pleat จาก Yeossal ผ้า Cotton สี Cream

กางเกง Double Forward Pleat จาก Yeossal ผ้า Cotton สี Cream

จริงๆตอนแรกผมก็ไม่ได้สนใจ Yeossal เพราะในตัวเว็บไซต์เขียนไว้แค่ว่ารับ Made-To-Order ซึ่งผมเช็ค Size Chart ของเค้าแล้วรู้สึกว่าซื้อมาแล้วใส่ไม่สวยแน่ๆ เนื่องจากสัดส่วนหลายๆจุดยังไม่พอดีสำหรับผม แต่พอไปดูใน Instagram ของคนที่เคยสั่งตัดไปแล้ว เค้าอธิบายว่าสั่ง MTM ได้ ผมเลยอีเมล์ไปเช็คกับเค้าให้แน่ใจก็เลยได้รู้ว่า MTO ของเค้ามันคือ MTM ด้วย ห้วย! แต่ไม่มีให้กรอกเป็นแบบฟอร์มในเว็บไซต์ตอนสั่ง เราใส่สัดส่วนแต่ละจุดที่ต้องการลงไปใน Notes ก่อนกดซื้อเท่านั้นเอง

ผมขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง MTO และ MTM สักนิดนึง 

DSC02868 copy 2_label.jpg

การสั่งแบบ MTO หรือ Made-To-Order คือเราเลือกผ้าที่เราอยากได้บนเว็บไซต์ เลือกดีเทล เลือกไซส์ กดสั่งกางเกงเค้าไป เค้าก็จะตัดกางเกงมาให้เราโดยที่ “สัดส่วนแต่ละจุดเปลี่ยนไม่ได้” หรือพูดอีกแบบหนึ่งคือ “สัดส่วนต้องเป็นไปตาม Size Chart” ของเค้าเท่านั้น

การสั่งแบบ MTM หรือ Made-To-Measure คือ MTO ที่สามารถเปลี่ยน “สัดส่วนแต่ละจุดได้ตามที่เราชอบ” เพื่อให้ฟิตเข้ากับตัวเราได้สวยขึ้น

การทำกางเกงแบบ MTM ของ Yeossal เป็น MTM จริงๆเพราะเราสามารถเปลี่ยนสัดส่วนได้หมดตั้งแต่รอบเอว (Waist) สะโพก (Hip) รอบก้น (Thigh) ความสูงกางเกง (Rise) เส้นรอบเข่า (Knee) ความกว้างปลายขา (Leg Opening) ความยาวขา (Inseam/ Outseam) และจะเลือกให้เค้าเบิ้ลปลายขามาเลยก็ได้

Waistband แบบ Extended จะมีกระดุมสองเม็ดที่เอว

Waistband แบบ Extended จะมีกระดุมสองเม็ดที่เอว

นอกจากนั้นดีเทลยิบย่อยบนตัวกางเกงเช่น สไตล์ของ Waistband ลักษณะของจีบ (จีบเดียว สองจีบ จะ Forward หรือ Reverse ก็ได้) รวมถึงลักษณะและจำนวนกระเป๋าด้านหลัง จะเอา Coin Pocket ด้านหน้ารึเปล่า หรือจะเอากระดุมด้านในเพิ่มสำหรับใส่กับ Suspender มั้ยสามารถเลือกได้ทั้งหมดและมีให้เลือกครบมาก ครอบคลุมสไตล์หลักๆของกางเกงเอวสูงได้เกือบหมด รายละเอียดต้องตามไปดูในเว็บไซต์ของเค้ากันดูนะครับเพราะมีให้เลือกเยอะจริงๆ

ในส่วนของผ้าอาจจะไม่มีให้เลือกเยอะมากในกรณีที่เราอยากได้ผ้าจากโรงทอบางเจ้าแบบเจาะจงเลือกไปเลย โดยเฉพาะผ้า Wool ที่มีให้เลือกน้อยและมีการเปิดรับออเดอร์ผ้าบางชนิดและบางสีเป็น Season เท่านั้น แต่ในหมวดหมู่ที่เป็น “Everyday Chino” ทั้ง Cotton และ Linen หรือ Corduroy เป็นหมวดที่น่าสนใจเพราะมีสีให้เลือกเยอะมาก รวมทั้งยังได้ผ้าจากโรงทอมาตรฐาน โดย Cotton ทั้งหมดจะมาจาก Huddersfield ส่วน Linen เป็น Irish Linen จาก Spence Bryson และ Corduroy จาก Brisbane Moss

ผ้า Cotton จากโรงทอผ้า Huddersfield ติดป้าย Tag ชัดเจนที่บริเวณด้านในเอวของกางเกง

ผ้า Cotton จากโรงทอผ้า Huddersfield ติดป้าย Tag ชัดเจนที่บริเวณด้านในเอวของกางเกง

ผมกดมาสองตัวเป็น Linen สี Light Taupe และ Cotton สี Cream ในหมวด “Everyday Chino” แต่บังเอิ๊ญบังเอิญทาง Yeossal เค้าลงออเดอร์ผมไปผิดเลยได้ Cotton มาทั้งหมด ซึ่งเค้าก็เสนอผมมาว่าอยากได้รึเปล่า ถ้าไม่อยากได้ยังไงก็ทำให้ใหม่อยู่แล้วแหละแต่ต้องรออีก 3-4 อาทิตย์ ผมไม่ซีเรียสเพราะอีกสีหนึ่งก็เป็น Cotton สีที่ผมอยากได้อยู่พอดีเลยรับมาทั้งสองตัว

ดีเทลของกางเกงทั้งสองตัวนี้เหมือนกันหมด คือเป็น Double Pleat Forward และ Extended Waistband กระเป๋าหลังเป็น Jetted ทั้งสองข้าง ให้เค้าเบิ้ลขามาให้เสร็จเลยและระบุสัดส่วนแต่ละจุดที่อยากเปลี่ยนลงไป

Double Forward Pleat และ Extended Waistband ในกางเกงสี Taupe

Double Forward Pleat และ Extended Waistband ในกางเกงสี Taupe

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะว่าสัดส่วนแต่ละจุดของกางเกงเราควรเป็นเท่าไหร่

วิธีที่ดีที่สุดคือ วัดจากกางเกงที่เรามีอยู่และคิดว่าเราใส่สวยที่สุด เอา Measurement ของกางเกงตัวนั้นใส่ลงไปเลยครับ วัดให้ละเอียดในแต่ละจุดแล้วลองเทียบกับ Size Chart ของเค้าโดยใช้ “รอบเอว” เป็นตัวตั้งต้นแล้วจึงค่อยเริ่มเช็คส่วนที่เหลือต่อ ถ้าจุดไหนไม่เปลี่ยนก็ต้องแจ้งเค้าไป จุดไหนเปลี่ยนก็ระบุให้ชัดเจนว่าจะเอาเท่าไหร่ ถ้าให้ดีเอาเป้ะๆถึงหลักทศนิยม 2 ตำแหน่งเลยครับจะได้ไม่พลาด อย่าลืมใส่หน่วยที่วัดลงไปด้วยนะครับว่าเป็นเซนติเมตรหรือว่านิ้ว ในกรณีนี้หากท่านผู้อ่านมีกางเกงสั่งตัดเป็นของตัวเองมาก่อนอยู่แล้วยิ่งสบายเพราะเราวัดอ้างอิงจากกางเกงตัวนั้นได้แล้วกรอกข้อมูลลงไปได้เลย

DSC02760 copy_label.jpg

มีข้อควรระวังนิดนึงคือ เรา “ต้องวัดใหม่เอง” อ้างอิงจากกางเกงตัวที่เราใส่สวยที่สุดโดยวัดตาม Guideline ที่มีอยู่ในเว็บเค้าเท่านั้น! ผมรู้ทันว่าท่านผู้อ่านอาจจะขอสัดส่วนของกางเกงจากช่างที่เคยไปตัดมาด้วยแล้วกรอกข้อมูลลงไปเลย วิธีนี้โอกาสพลาดสูงมากๆเพราะ Measurement ที่ช่างวัดอาจจะไม่ตรงกับวิธีการวัดในเว็บไซต์ของเค้านะครับ

ผมมีทริคอีกเล็กน้อยสำหรับการวัดความยาวขา ผมแนะนำว่าวัดจาก “Inseam” จะแม่นกว่า Outseam นะครับ เพราะ Outseam จะรวม Rise เข้าไปด้วย แต่ Inseam จะเป็นการวัดความยาวจากเป้าลงมาถึงปลายขาได้เป็น “ความยาวขา” จริงๆ

วัด Measurement กางเกงอย่าลืมใช้สายวัดที่ Scale ได้มาตรฐานกันพลาดกันนะครับ

วัด Measurement กางเกงอย่าลืมใช้สายวัดที่ Scale ได้มาตรฐานกันพลาดกันนะครับ

วิธีที่สองคือ ในกรณีที่เรามีกางเกงที่ใส่สวยที่สุดอยู่น่ะแหละ แต่มันยังสวยไม่พอ อยากได้ฟิตติ้งที่สวยกว่านี้ในบางจุดจะทำยังไงดี

ในเคสนี้จะซับซ้อนขึ้นมาอีกสเต็ปหนึ่ง เพราะเราต้องมาวิเคราะห์กันต่อว่า “จุดไหนที่เราไม่ชอบและไม่ชอบเพราะอะไร” วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับเคสนี้คือเอากางเกงที่ Overall เราชอบที่สุดมาเอาไว้เป็นตัวตั้ง ลองใส่แล้วดูตามจุดไล่ไปเลยตั้งแต่เอวลงไปถึงปลายขาในแต่ละสัดส่วน อย่าลืมจดสัดส่วนและมาร์คไว้นะครับว่าจุดไหนของกางเกงตัวนี้ที่ไม่ชอบบ้าง แล้วไปหากางเกงในตู้เสื้อผ้าตัวอื่นที่เราชอบจุดๆนั้นมากกว่ามาวัดแล้วใส่ Measurement ลงไป ค่อยๆไล่เก็บทีละจุดจนครบก็จะเป็นการช่วยหาฟิตติ้งทั้งหมดที่ดีสำหรับเรา เช่น ไอ้ตัวที่สวยสุดสำหรับเราเข่ามันตึงไปตอนนั่ง ก็ลองไปหาตัวอื่นที่ใส่สบายเข่ามากกว่ามาใส่ดู เป็นต้น 

แต่สุดท้ายแล้วหลังจากลองกางเกงหมดตู้เสื้อผ้าแล้วยังมีบางจุดเหลืออยู่ที่ยังไม่ถูกใจเรา ก็ต้องอาศัยการกะประมาณด้วยตัวเองล่ะครับ แต่การเผื่อเหลือ (เผื่อให้ใหญ่จากเดิมไปหน่อย) ยังไงก็ดีกว่าเผื่อขาด เพราะหากเผื่อน้อยไปการเอามาส่วนนั้นมาขยายทีหลังจะยุ่งยากหรืออาจจะทำไม่ได้เมื่อเทียบกับการเผื่อเหลือที่เรายังเอามาเก็บส่วนเกินเข้าไปได้ การเผื่อเหลืออาจจะต้องใช้วิชามารหรือประสบการณ์กันนิดนึงหากจะกะให้ไม่พลาด วิธีอาจจะเรียกนี้ว่าเป็นการเอาตัวรอดแบบบ้านๆก็ได้นะครับ แต่รับรองว่าได้ผลดีทีเดียว

กางเกง Bespoke ผ้า Linen จาก The Primary Haus ที่ผมใช้เป็นตัวต้นแบบในการวัด Measurement

กางเกง Bespoke ผ้า Linen จาก The Primary Haus ที่ผมใช้เป็นตัวต้นแบบในการวัด Measurement

วิธีสุดท้ายคือ ในกรณีที่เรามีรูปภาพของกางเกงที่สวยอยู่ในใจแต่กางเกงที่มีฟิตติ้งยังไม่ถูกใจสักตัว เราต้อง “กะประมาณบวกลบสัดส่วนด้วยตัวเอง” ต้องอาศัยวิชามารและวิชามโนขั้นสูง ผมไม่อยากแนะนำวิธีนี้และยังไม่อยากให้สั่งเพราะเสี่ยงพลาดมากที่สุด หากฝืนไปสุดท้ายเราอาจจะได้กางเกงที่สัดส่วนแปลกๆมาหรือกางเกงที่ใส่ไม่สบายมาแทน ไม่คุ้มตังที่เสียไปแน่ๆครับ หากเราอยากได้จริงๆผมแนะนำว่าลองวัดจากกางเกงที่เราคิดว่าใส่สวยที่สุด แล้วเปรียบเทียบสัดส่วนดูกับ Szie Chart ว่าแต่ละส่วนต่างกันขนาดไหนก็จะช่วยได้มากขึ้นครับ หรือไม่เช่นนั้นหากมั่นใจว่าไม่ติดอะไรก็ออเดอร์ไปตาม Size Chart ของเค้าเลยก็ไม่เสียหาย

หลังจากนี้ เราจะมาเข้าเรื่องผลลัพธ์ของฟิตติ้งกางเกงที่ได้มาและการตัดเย็บกันนะครับ

สำหรับสัดส่วนที่ผมกรอกข้อมูลลงไปผมวัดจากหนึ่งในกางเกง Bespoke ที่เคยตัดมาแล้ว โดยใช้ Measurement ตั้งต้นเป็นรอบเอวแล้วยกไปเทียบกับ Size Chart ของกางเกงที่มีรอบเอวเท่ากันกับทาง Yeossal ก็พบว่าหากจะใส่ให้สวยผมต้องเปลี่ยนสัดส่วนเกือบทั้งหมดยกเว้นสะโพกและรอบก้น พอวัดเสร็จแล้วจึงกรอกข้อมูลทุกอย่างลงไป กดจ่ายเงิน และรออีกประมาณสามอาทิตย์กว่าๆทาง Yeossal ก็แจ้งว่ากางเกงตัดเสร็จแล้วและกำลังจะส่งมาให้ 

Shipping เค้ามีให้เลือกสองแบบคือ FedEx และ UPS โดยผมเลือก FedEx ใช้ระยะเวลาส่งมาจากสิงคโปร์ 3 วันหลังจากตัดเสร็จก็ถึงหน้าบ้าน

DSC02692 copy 2_label.jpg

หลังจากแกะห่อพัสดุ หยิบกางเกงมาเสียบขาเข้าไป รูดซิปและปิดกระดุมที่เอวแล้ว ความรู้สึกแรกคือเป็นความรู้สึกที่คุ้นเคย เพราะเป็นความรู้สึกเดียวกันกับฟิตติ้งจากกางเกง Bespoke ที่ผมเคยตัดมา หลังจากนั้นจึงกลั้นใจนับหนึ่งถึงสามแล้วส่องกระจก ก็ถึงต้องร้องโอ้โห เพราะ “มันเกินความคาดหมายไปเยอะมาก” ฟิตติ้งทำออกมาได้ดี ดีขนาดที่ว่ามันไม่ได้มีความรูสึกต่างกับการสั่งตัด Bespoke เลยแม่แต่น้อย ซึ่งก็อาจจะเป็นโชคดีของผมด้วยส่วนหนึ่งที่แพทเทิร์นกางเกงของ Yeossal ทำออกมารับกับหุ่นของผมได้ดี

จริงๆตอนแรกที่สั่งไปผมก็ค่อนข้างกังวลเพราะตัวเลข Measurement ที่ต้องใส่ลงไปในการสั่งตัดรูปแบบ MTM เป็นตัวเลขที่ไม่สามารถบอกถึงมิติการโค้งเว้าตามสัดส่วนแต่ละจุดได้ คล้ายกับการสั่งรองเท้าโดยอิงจากความยาวและความกว้างของหน้าเท้าแต่ไม่ได้รู้เลยว่าส้นกว้างหรือแคบขนาดไหน หรือหน้าเท้าเราจะนูนจนติด Vamp หรือไม่ 

กางเกงทั้งตัวลงมาจากเอวได้สวยเป็นธรรมชาติโดยที่มีจุดหักหรือรั้งของผ้าน้อย

กางเกงทั้งตัวลงมาจากเอวได้สวยเป็นธรรมชาติโดยที่มีจุดหักหรือรั้งของผ้าน้อย

จีบทั้งหมดปิดสนิทดี ไม่เปิดออกเยอะเกินไปหรือที่เรียกว่า “จีบแตก“

จีบทั้งหมดปิดสนิทดี ไม่เปิดออกเยอะเกินไปหรือที่เรียกว่า “จีบแตก“

ฟิตติ้งผมไม่มีอะไรจะติเลย เพราะกางเกงสามารถทิ้งตัวได้สะอาดในทุกๆส่วนโดยที่มีผ้าส่วนเกินเหลือน้อยมาก เป็นการตัด MTM ที่ให้ฟิตติ้งเหมือนกับ Bespoke โดยตอนสั่งผมใช้ไซส์ 36 เป็นตัวอ้างอิง ช่วงเอวตัดมาได้พอดี ช่วงสะโพกไม่แน่นไม่หลวม นั่งแล้วไม่รู้สึกโดนรั้ง ช่วงก้นดี เดินแล้วไม่อึดอัด นั่งแล้วงไม่ติด Rise ผมปรับให้สูงขึนจากเดิม (+0.75”) ช่วงเข่าเดินสบายไม่ติดตอนนั่งหรือทำท่างอเข่า (+1”) บริเวณปลายขาผมขยายเพิ่มจากเดิมเพราะกันไม่ให้กางเกงรั้งน่อง (+0.5”) ใส่ความยาวของ Inseam ลงไปตามความยาวที่วัดได้ และเบิ้ลขาที่ความกว้าง 1.75” แต่แปลกนิดนึงตรงที่ Inseam ของทั้งสองตัวมาห่างกันนิดหน่อยที่ 0.25” ทำให้มีตัวนึงใส่จริงแล้วจะได้เป็น Half Break ส่วนอีกตัวปลายขาแตะที่ปลายลิ้นรองเท้าพอดี 

กางเกงตัวนี้ขายาวกว่าอีกตัวหนึ่ง 1/4” ทำให้ใส่จริงๆแล้วกลายเป็น Half Break

กางเกงตัวนี้ขายาวกว่าอีกตัวหนึ่ง 1/4” ทำให้ใส่จริงๆแล้วกลายเป็น Half Break

ผ้า Cotton ที่ใช้ตัดกางเกงมาจากโรงทอ Huddersfield ซึ่งถือว่าเป็นโรงทอผ้าที่ได้มาตรฐาน ฟีลลื่งของผ้าให้ความรู้สึกที่นิ่ม เนียนและนุ่มจากการที่ผ้าทอละเอียด ใส่จริงแล้วสบาย ไม่ร้อน เมื่อรีดอัดจีบแล้วจีบสามารถอยู่ได้ทั้งวันแต่พอหมดวันแล้วจีบจะไม่คมเท่ากับตอนหลังรีด

น้ำหนักผ้า Cotton ในไลน์นี้ของ Huddersfield จะไม่สูงมากซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งข้อดีแล้วข้อเสีย ข้อดีคือใส่สบายและไม่ร้อนแบบที่ผมได้เขียนไว้ข้างต้น แต่ด้วยผ้าที่มีน้ำหนักไม่เยอะทำให้กางเกงทิ้งตัวได้ไม่เป้ะมากและอยู่ทรงยากกว่าผ้าที่มีน้ำสูง

กระดุมที่ใช้ในกางเกงเป็นเขาสัตว์ (Horn) แท้ และโดยรอบเอวมีการ Fuse เพื่อให้เอวอยู่เป็นทรง

กระดุมที่ใช้ในกางเกงเป็นเขาสัตว์ (Horn) แท้ และโดยรอบเอวมีการ Fuse เพื่อให้เอวอยู่เป็นทรง

หูเกี่ยวจาก YKK

หูเกี่ยวจาก YKK

หัวซิปและตัวซิปจาก YKK รูดลื่นปรื้ดไม่มีสะดุด

หัวซิปและตัวซิปจาก YKK รูดลื่นปรื้ดไม่มีสะดุด

ลักษณะการเย็บปิดปลายขอบกระเป๋าโดยใช้เครื่องจักรเดินทั้งหมด

ลักษณะการเย็บปิดปลายขอบกระเป๋าโดยใช้เครื่องจักรเดินทั้งหมด

จะสังเกตเห็นการเดินด้ายจากเครื่องโชว์ค่อนข้างเยอะ ซึ่งก็เป็นจุดเดียวที่ผมติ

จะสังเกตเห็นการเดินด้ายจากเครื่องโชว์ค่อนข้างเยอะ ซึ่งก็เป็นจุดเดียวที่ผมติ

การตัดเย็บเป็นการเย็บเครื่องทั้งหมด 100% ไม่มีการใส่งานมือเข้าไป ขอบเอวมีการ Fuse ให้แข็งขึ้นเพื่อให้ขอบกางเกงตั้งอยู่ตัวเป็นทรง งานตัดเย็บทำออกมาได้มาตรฐาน แต่ถ้าหากมีการซ่อนรอยเย็บบริเวณขอบเอวและตามตะเข็บบางจุดเพิ่มอีกสักหน่อยผมคิดว่าจะเป็นกางเกงที่ Perfect มากๆ

“Everyday Chino” จาก Yeossal เป็นอีกไลน์หนึ่งที่ราคาสามารถเข้าถึงได้และมีโอกาสในการปรับฟิตติ้งให้เข้ากับตัวเรา

“Everyday Chino” จาก Yeossal เป็นอีกไลน์หนึ่งที่ราคาสามารถเข้าถึงได้และมีโอกาสในการปรับฟิตติ้งให้เข้ากับตัวเรา

สรุปจากที่ผมเขียนไว้ทั้งหมด จุดเด่นและจุดแข็งของกางเกง Everyday Chino จาก Yeossal คือ “Fitting ที่สามารถปรับได้แบบ MTM ในราคา Ready-To-Wear” และได้ผ้าจากโรงทอที่มีชื่อเสียง เมื่อเทียบราคากางเกงใน Range นี้ในประเทศไทยก็จะพบว่ามีแต่ Echizenya เท่านั้นแต่จะพอยกมาเปรียบเทียบกันได้ แต่ Echizenya ก็มีราคาที่สูงกว่าและเป็น Ready-To-Wear ที่ปรับสัดส่วนไม่ได้ ดังนั้นหากสิ่งที่ท่านผู้อ่านให้ความสำคัญเป็น “อันดับหนึ่ง” คือฟิตติ้งที่สวยแถมราคาถือว่าดีมาก หายากจริงๆครับกับ Brand ที่สามารถ Customize ได้ขนาดนี้ในราคาห้าพันถึงหกพันต้นๆต่อตัว ผมแนะนำว่าไม่ควรพลาดกับการลองกางเกง Yeossal สักตัวสองตัวอย่างแน่นอนครับ

Previous
Previous

เสื้อโปโลแบบ “One Piece Collar” คืออะไร

Next
Next

Casa Del Sarto x The Decorum - แจ็คเก็ต Napoli สัญชาติเกาหลีที่ใส่ไปได้ (เกือบ) ทุกงาน