Liverano & Liverano Bespoke Suit: ครั้งหนึ่งในชีวิตกับช่างตัดสูทระดับโลกจากเมือง Florence ประเทศอิตาลี

IMG_1742_label.jpg
เมือวันที่ 27 กุมภาพันธ์ถึง 2 มีนาคม 2021 ที่ผ่านมา ที่ร้าน The Somchai ได้จัด Trunk Show ขึ้นเป็นระยะเวลา 4 วัน ซึ่งผมได้มีโอกาสเข้าไปสั่งตัด Bespoke Suit จาก Master Tailor ที่เป็นตำรับจากฝั่ง Florentine Tailoring นั่นก็คือ Liverano & Liverano 
Trunk Show ที่ร้าน The Somchai ตั้งอยู่ในซอยทองหล่อ 11 ติดกับตึก The Taste

Trunk Show ที่ร้าน The Somchai ตั้งอยู่ในซอยทองหล่อ 11 ติดกับตึก The Taste

Trunk Show ที่ว่านี้คืออะไร?
Trunk Show หากแปลกันตรงๆจะหมายความว่า “การเปิดท้ายขายของ” หากว่ากันตามปกติแล้ว มันคือการที่ผู้ขายได้มานำเสนอขายสินค้าหรือบริการให้แก่ร้านค้าหรือลูกค้าโดยตรงด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นตาม Event ในโรงแรม Event ตาม Exhibition Hall ต่างๆ หรือตาม Request ของร้านค้าปลีก หากเราอ้างอิงตามงาน Pitti Uomo ที่จัดว่าเป็น Trunk Show ที่ใหญ่ที่สุดในโลกของวงการ Sartorial Menswear การจัดงานนี้จะเป็นการ Preview สินค้าหรือบริการใหม่ล่าสุดของเหล่าผู้ขายผ้าไปจนถึง Tailor ชื่อดังมากมายที่ “กำลังจะ” ปล่อยออกสู่ตลาด ดังนั้นการไปงานนี้จึงเปิดโอกาสให้เหล่าผู้ขายได้เปิดตัวสินค้าใหม่ และคนซื้อได้ทำการซื้อจองหรือ Pre-Order ไว้ก่อน
ในกรณีของ Liverano Trunk Show รอบนี้คือ คุณ Takahiro Osaki ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่จะบินไปพบกับลูกค้าทั่วโลก ได้บินจากเมือง Florence ประเทศอิตาลีมาที่ร้าน The Somchai เพื่อทำการรับออเดอร์ใหม่จากลูกค้าคนไทย ทำการวัดสัดส่วนตัวเพื่อนำไปขึ้น Fitting แรก ช่วยลูกค้าเลือกผ้าที่เหมาะกับความต้องการของตัวเอง รวมไปถึง Fitting สูทครั้งที่หนึ่ง สองหรือสามสำหรับท่านอื่นๆที่ได้สั่งไปแล้วก่อนหน้า โดยทางทีมจาก Liverano จะบินมาไทยทุกๆ 3-4 เดือน
คุณ Takahiro Osaki (ซ้าย) จากทีม Liverano & Liverano Firenze

คุณ Takahiro Osaki (ซ้าย) จากทีม Liverano & Liverano Firenze

ทำไมต้องสูทของ Liverano & Liverano?
คุณอาร์ม Americano Taste ได้พูดกับผมประโยคหนึ่งว่า “การสั่งตัด Bespoke กับ Master Tailor เป็นเหมือนกับการบอก Tailor ว่าเนี่ย คุณได้ตัดสูทให้กับ Well-Dressed Gentlemen จากทั่วทุกมุมโลกมาแล้ว คุณมีประสบการณ์ ผ่านรูปร่างของคนมาหลากหลายรูปแบบ มีความรู้ ความเข้าใจใน Fitting เป็นอย่างดี รู้ว่าผ้าแบบไหน สัดส่วนแบบไหน และตัดสูทออกมายังไงให้เหมาะกับตัวผม ส่วนหนึ่งจะเรียกว่าเราจ่ายเงินเพื่อซื้อ “สายตา” ของ Tailor ก็ได้ครับว่าเออเนี่ย คุณจัดชุดสูทให้ผม ช่วยผมแต่งตัวหน่อยสิ เอาให้หล่อที่สุดเลยนะในสายตาของคุณนั่นแหละ”
Collection เล่มผ้าที่อยู่ใน Vintage Archive หรือเรียกง่ายๆว่า “ผ้าวินเทจ“ ของ Liverano & Liverano

Collection เล่มผ้าที่อยู่ใน Vintage Archive หรือเรียกง่ายๆว่า “ผ้าวินเทจ“ ของ Liverano & Liverano

ส่วนตัวผมชอบสไตล์ของ Liverano ที่คุณ Taka ซึ่งเป็นคนหนึ่งในทีมที่จะบินมาฟิตติ้งตลอด เพราะแกมองขาดในแง่ของฟิตติ้งและสัดส่วนที่เมื่อตัดออกมาแล้วสูท Drape สวยและสะอาดตา คัตติ้งก็จะเป็นแนว Florentine ที่ไม่มีสาปหรือ Dart ด้านหน้า ช่วงไหล่จะมีความ Extended มากกว่าเจ้าอื่นเพื่อสร้างรูปลักษณ์ของความอกผายไหล่ผึ่ง 

ความเท่ของ Liverano คือถึงแม้ไหล่จะ Extend ออกไปเลยกระดูกไหล่ แต่เมื่อสวมใส่จริงๆแล้วจะดูไม่ออกว่าไหล่จริงของเราอยู่ตรงไหน โครงสร้างสูทจะมีความอยู่ตัวมากกว่าสูทสาย Neapolitan แต่ก็ไม่เป้ะปึ้กแบบสูทสไตล์อังกฤษ รวมไปถึงเอกลักษณ์ของแจ็คเก็ตสูทที่เมื่อเรากลัดปิดกระดุมที่เอวแล้ว ทั้งสองฝั่งด้านหน้าของแจ็คเก็ตจะเหมือนพระจันทร์ครึ่งวงกลมสองซีกมาซ้อนปิดกันพอดี เป็น Silhouette ที่ผมไม่เคยเจอใน Tailor เจ้าไหนมาก่อน
Silhouette โดยคร่าวๆของ Liverano & Liverano Suit ที่เป็น Ready To Wear

Silhouette โดยคร่าวๆของ Liverano & Liverano Suit ที่เป็น Ready To Wear

ผมมี Trick เล็กน้อยหากอยากรู้ว่า Silhouette ของ Bespoke Suit เจ้านั้นเหมาะกับเราหรือไม่ คือหาก Bespoke Tailor เจ้านั้นมี Line การผลิตที่เป็น Ready-To-Wear ผมแนะนำให้ไปลองก่อนครับ จะสามารถช่วยให้เราพอเข้าใจสไตล์ของสูทบนตัวเราได้ดีมากขึ้น แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า หากถูกใจ Ready-To-Wear ตัวที่เราลองแล้ว สูท Bespoke จะสามารถสวยไปกว่านั้นได้อีกเยอะเลยครับ รวมไปถึงความสบายในการสวมใส่ด้วยเช่นกัน
ก็เป็นอีกครั้งที่คุณอาร์มพูดให้ผมฉุกคิดเรื่องหนึ่งที่สำคัญได้ว่า “สื่งที่ยากที่สุดสำหรับ Well-Dressed Gentlemen คือ จะใส่สูทสี Navy Blue ซึ่งเป็นสีที่ทุกคนมีติดตู้เสื้อผ้าและใส่กันเป็นประจำยังไงให้ Elegant ที่สุด การใส่สูทที่สีเรียบๆและดูพื้นๆแบบนี้ให้ดูสวยและสง่านั้นยากกว่าการใส่แจ็คเก็ตที่เสียงค่อนข้างดังและสีฉูดฉาด เพราะสี Navy Blue ที่เรียบๆนี้ไม่มีอะไรมาช่วยเลยนอกจากคัตติ้งที่เข้ากับตัวเราเท่านั้น”
คุณอาร์ม @armkorakot หนึ่งในบุคคลสำคัญที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสูทตลอดระยะเวลาก่อนที่ผมจะตัดสินใจตัด Bespoke Suit กับ Liverano & Liverano

คุณอาร์ม @armkorakot หนึ่งในบุคคลสำคัญที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสูทตลอดระยะเวลาก่อนที่ผมจะตัดสินใจตัด Bespoke Suit กับ Liverano & Liverano

ฉะนั้นการสั่ง Bespoke Suit สักตัว เราต้องชอบ “ทั้งในสไตล์ของเค้าและเชื่อสายตาของช่างตัดสูทก่อน” ถึงแม้ Tailor จะฝีมือดีขนาดไหนแต่เราไม่ชอบสไตล์ของเค้า พอสูทตัดออกมาเสร็จยังไงเราก็ไม่ชอบอยู่ดีนั่นแหละฮะ เหมือนกับเจอสาวสวยแต่ดันไม่ตรงสเป็ค จะฝืนคุยกันไปก็ไม่ยั่งยืน จริงมั้ยครับ? 
แต่ที่สุดแล้ว สาเหตุจริงๆที่ผมตัด Bespoke สูทกับ Liverano ก็เพราะผมอยาก Experience ประสบการณ์การตัด Bespoke กับ Tailor ระดับโลก และอยากเห็น “สายตา” ของสูทที่สวยที่สุดสำหรับตัวผมในมุมมองของ Master Tailor อย่างคุณลุง Antonio Liverano ครับ
พูดคุยกันเรื่องสูท และข้อข้องใจทั้งหลายกับคุณ Taka

พูดคุยกันเรื่องสูท และข้อข้องใจทั้งหลายกับคุณ Taka

ตัดสูทต้อง “รอหนึ่งปี” นานเกินไปรึเปล่า”?
ผมได้ปรึกษาคุณอาร์มและคนรู้จักหลายๆท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่นาน ถ้านับกันจริงๆก็น่าจะปีกว่าๆก่อนที่ผมจะตัดสินใจตัด Bespoke สูทตัวแรกกับ Liverano 
อย่างแรกที่เราต้องทำความเข้าใจคือ ด้วยความที่เค้าเป็น Master Tailor ชื่อดังเจ้าหนึ่ง จึงไม่แปลกที่จะมีออเดอร์หลั่งไหลมามากมายจากทั่วโลก ทำให้มีคิวรอค่อนข้างที่จะนาน รวมไปถึงคุณลุง Antonio Liverano ยังคงการทำ Bespoke แบบดั้งเดิมใน Workshop ของแกที่แกจะตัด Pattern เองทั้งหมด มีลูกมือช่วยในบางส่วนที่ทำได้ และงานยังคงเป็น Handmade แบบเย็บมือ บวกกับความเป็น Bespoke ที่ต้องทำการ Fitting ถึง 3 ครั้ง และทางทีมจาก Liverano ต้องบินมาฟิตติ้งที่ไทยด้วยตัวเอง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ระยะเวลาค่อนข้างที่จะนานครับ โดย Agenda ของการสั่ง Bespoke Liverano จะเป็นประมาณนี้ครับ

ครั้งแรก: พูดคุย วัดสัดส่วนตัว และเลือกผ้า
ครั้งที่สอง: First fitting
ครั้งที่สาม: Second fitting
ครั้งที่สี่: Final Fitting ซึ่งจะเป็นการมา Delivery สูทและตรวจดูความเรียบร้อยด้วยตนเอง

หลังจากบอกโจทย์ที่อยากได้ไป คุณ Taka ก็จะช่วย Scope ตัวเลือกผ้าที่มีทั้งหมดลงมาเหลือ 3-4 แบบที่เข้าข่ายความเป็นไปได้ให้เรา

หลังจากบอกโจทย์ที่อยากได้ไป คุณ Taka ก็จะช่วย Scope ตัวเลือกผ้าที่มีทั้งหมดลงมาเหลือ 3-4 แบบที่เข้าข่ายความเป็นไปได้ให้เรา

ครั้งแรกที่สั่งตัดสูท Bespoke เราต้องทำอะไรบ้าง?
สิ่งหนึ่งที่เราควรจะทำการบ้านไปก่อนตัดสูท Bespoke คือ “เราวางแผนจะเอาสูทไปใช้ในโอกาสไหนบ้าง” และ “ผ้ากับสีที่เราชอบในใจมีลักษณะประมาณไหน” สำหรับโจทย์ที่ผมคุยกับคุณ Taka คือ อยากได้สูทสี Navy Blue สี Basic เรียบๆที่ใช้คุยงาน ซึ่งสีที่ผมอยากได้จะไม่ใช่ Navy Blue ที่เข้มเกินไป แต่ก็ไม่อ่อนลงมาจนถึง Solid Blue สามารถนำไปใช้งานตอนกลางวันได้ แต่กลางคืนก็ยังพอไหว ผ้าในใจผมมอง Dormeil Tonik ซึ่งจะเป็น Wool 70% ผสมกับ Mohair 30% เพราะด้วยความที่มี Mohair ผสมมาในประมาณหนึ่งจะช่วยให้สูทมีความเงาเพิ่มขึ้นจากผ้า Wool 100% ทำให้นำไปใช้ได้หลากหลายกว่า
หนึ่งใน Trick ที่สำคัญมากในขั้นตอนของการเลือกผ้า คือเราต้องนำผ้าตัวที่เราสนใจมาส่องกับ “แสงปกติ” หรือแสงแดด เพื่อที่จะได้เห็น “สีจริงๆ”

หนึ่งใน Trick ที่สำคัญมากในขั้นตอนของการเลือกผ้า คือเราต้องนำผ้าตัวที่เราสนใจมาส่องกับ “แสงปกติ” หรือแสงแดด เพื่อที่จะได้เห็น “สีจริงๆ”

คุยไปคุยมา คุณ Taka แกแนะนำผ้า VBC ปกติมากกว่าครับ ด้วยเหตุผลที่ว่าผ้า Dormeil Tonik ใส่ในไทยจะค่อนข้างร้อนกว่า และสี Navy Blue ที่มีให้เลือกของ VBC ก็สว่างกว่า Dormeil สองสามสเต็ป ทำให้สูทเหมาะกับงานกลางวันด้วย ซึ่งอยู่ในโทนสีที่ผมชอบเลย
หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่า ตัดทั้งทีทำไมไม่เลือกผ้าแพงๆให้คุ้มไปเลย ทำไมเลือก VBC ที่หาได้ทั่วไป?
อย่างที่ผมกล่าวไปข้างต้นว่า คุณ Taka เค้ามากไปด้วยประสบการณ์จากการที่ได้บินไปฟิตติ้งให้กับผู้ชายมาทั่วโลกแล้ว ชุดสูทผ่านมือแกมาแล้วไม่รู้กี่ร้อยกี่พันตัว ดังนั้นหลังจาก Discuss กันหากแกแนะนำผ้าตัวไหน ผมก็ไม่อยากจะดันทุรังเอาผ้าที่ “ผมคิดว่าดี” เพราะทาง Liverano เค้าเข้าใจในธรรมชาติของตัวผ้าเมื่อตัดขึ้นมาเป็นสูทมากกว่าผมแน่นอน
ขั้นตอนการวัดสัดส่วนตัว ที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก

ขั้นตอนการวัดสัดส่วนตัว ที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก

หลังเลือกผ้ากันเสร็จเรียบร้อยก็จะเป็นการวัดตัว ซึ่งคุณ Taka ใช้เวลาวัดสัดส่วนตัวไม่ถึง 5 นาที เป็นความเร็วในการวัดตัวที่ผมทึ่งมาก

ปิดด้วยคำถามสุดท้ายที่ผมคิดว่าทุกๆท่านน่าสงสัยเหมือนผม

ถ้าน้ำหนักขึ้นจะทำยังไงดี (วะ) เนี่ย?
สูท ก็เหมือนกับเสื้อเชิ้ตหรือกางเกงที่เป็นเครื่องแต่งกายชนิดหนึ่ง หากน้ำหนักเราขึ้นเยอะจากการกิน “เน้นนะครับว่าเฉพาะการกินแล้วอ้วนขึ้นเพราะไขมันสะสมเท่านั้น” เช่น 6-7 กิโลกรัม สูทยังจะสามารถปรับแก้ได้จากการที่ทาง Liverano จะเผื่อผ้าให้ขยายออกมาจากน้ำหนักที่เปลียนแปลง แต่ในที่สุดหากน้ำหนักขึ้นไปเกิน 10 กิโลกรัม ถึง Tailor จะเทพมาจากไหน ยังไงก็เอาไม่อยู่ครับ ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นคือเราต้องมีวินัยให้ตัวเองในการคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้นเยอะเกินไปด้วยเช่นกัน
ในกรณีที่ Weight Training แล้วสัดส่วนเปลี่ยน จะมีผลกระทบน้อยกว่าทั้งในระหว่างช่วงฟิตติ้ง หรือหลังฟิตติ้งเสร็จได้สูทไปใส่แล้วเพราะผ้าที่เหลือเผื่อให้ขยายได้ดังที่กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นเรื่องนี้สบายใจได้ครับผม แต่ก็ในทำนองเดียวกันกับการกินเยอะ หากเราฟิตแบบเป็นบ้าเป็นหลังจนสัดส่วนเปลี่ยนเยอะมากๆ เช่น เล่นอกจนเพิ่ม 4 นิ้วได้ภายในไม่กี่เดือน อันนี้ก็ตัวใครตัวมันล่ะครับ
ปิดท้ายด้วยแก๊งป้ายยา ขอบคุณคุณชาร์ล @charlesyap_ (ซ้าย) ที่ช่วยเก็บภาพระหว่าง Session และคุณปุ่น @poonhaha (ขวา)

ปิดท้ายด้วยแก๊งป้ายยา ขอบคุณคุณชาร์ล @charlesyap_ (ซ้าย) ที่ช่วยเก็บภาพระหว่าง Session และคุณปุ่น @poonhaha (ขวา)

ก็เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจของการเจอกันครั้งแรกกับทีมจาก Liverano ด้วยสนนราคาค่าตัวสูทที่ 289,000 บาท พร้อมระยะเวลาการรอคอยอีก 1 ปี
อีก 4 เดือนเดี๋ยวมาเจอกันใหม่นะครับกับ “First Fitting”
Previous
Previous

Napoli Shirt: เสื้อเชิ้ตที่แฝงไปด้วยความขี้เล่นและกวน(ตีน) ตามแบบฉบับชาวเนเปิ้ล

Next
Next

ผ้า Hopsack: สวรรค์สำหรับคนเมืองร้อน