การเก็บรักษาแจ็คเก็ตขณะที่ไม่ได้สวมใส่

DSC02195.jpg
เชื่อมั้ยครับว่า การเก็บรักษาแจ็คเก็ตที่ถูกวิธีจะช่วยยืดอายุและโครงสร้างของแจ็คเก็ตตัวนั้นไปได้อีกนานมาก
ด้วยความที่การตัดเย็บแจ็คเก็ตนั้นมักจะมีการเสริมโครงสร้างด้านในตามจุดต่างๆที่เรียกว่า “หางม้า” “โฟมเสริมทรง” หรือการ “Fusing หรือติดกาว” รวมไปถึง Cutting และการเย็บทรงที่มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนมากกว่าเสื้อเชิ้ต ดังนั้นหากแจ็คเก็ตมีการยับหรือรอยหักตามบริเวณเหล่านี้จากการเก็บที่ไม่ถูกวิธี เช่น รอยยับตามแผ่นอก บ่า ไหล่ หรือปกแจ็คเก็ต เราจะไม่สามารถเอาเตารีดมารีดกลับให้เรียบได้ตามวิธีปกติเหมือนการรีดเสื้อเชิ้ตที่ยับ เพราะอาจทำให้แจ็คเก็ตเสียทรงได้
เพราะฉะนั้นกันไว้ดีกว่าแก้ด้วยการเลือกไม้แขวนที่เหมาะสมกับตัวแจ็คเก็ตเป็นอันดับแรก
ไม้แขวนสำหรับแขวนแจ็คเก็ตหรือสูทนี้จะมีรูปทรงแตกแตกต่างไม้แขวนเสื้อเชิ้ตอย่างชัดเจน โดยมีปัจจัยในการเลือกพิจารณาดังนี้ครับ
DSC02232.jpg
  • ความยาวของไม้แขวน: ควรจะยาวครอบคลุมตั้งแต่ขอบไหล่ข้างหนึ่งยาวไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง เพื่อรักษาความตั้งของทรงบ่าและไหล่ไว้
DSC02214.jpg
  • ความกว้างบริเวณปลายไหล่: ควรจะบานออกเป็นรูปทรงคล้ายๆหยดน้ำเพื่อรองรับปลายไหล่ได้พอดี หากปลายไม้แขวนมีความแคบเกินไปจะทำให้บ่าหักลงเป็นสันได้
DSC02207.jpg
  • บริเวณคอของไม้แขวน: ควรจะมีความโค้งเว้าและหนาตามลักษณะธรรมชาติของคอ เพื่อรักษาความโค้งของปกคอไว้ หากไม้แขวนมีบริเวณคอที่แคบและสันที่คมจะทำให้ปกบริเวณนั้นเป็นรอยหักตามขอบของไม้แขวน
DSC02226.jpg
  • หากวางไม้แขวนไว้ในแนวราบ ลักษณะของไม้แขวนควรจะมีความโค้งเป็นรูปตัว U เล็กน้อยตามลักษณะธรรมชาติของหลังคนเรา ซึ่งความโค้งของไม้แขวนนี้จะทำให้ผ้าบนตัวแจ็คเก็ตสามารถทิ้งตัวได้ดีขึ้น ช่วยทำให้รอยยับจากการสวมใส่ลดลง
Previous
Previous

อย่าด่วนตัดสินเสื้อเชิ้ต หากยังไม่ได้ลองกับแจ็คเก็ต: Garment Layering

Next
Next

3 ทหารสี: น้ำตาล เทา และน้ำเงิน