Fitting Room 101: ดีเทลการ “เดินด้ายเส้นคู่หรือด้ายเดี่ยว” บนตัวแจ็คเก็ต

รายละเอียดการเดินด้ายแบบ Double Stitching ใน Bespoke Jacket โดย The Primary Haus ผ้า Fox Air ให้ความรู้สึกที่ Casual มากกว่า

รายละเอียดการเดินด้ายแบบ Double Stitching ใน Bespoke Jacket โดย The Primary Haus ผ้า Fox Air ให้ความรู้สึกที่ Casual มากกว่า

รู้หรือไม่ครับว่า เวลาเราไปหาช่างตัดสูทเพื่อทำการจัดแจ็คเก็ต พอถึงเวลาในการเลือกรายละเอียดบนตัวแจ็คเก็ตแล้วช่างอาจจะเสนอ Option ให้เราเลือกว่าจะเอาเป็น Single หรือ Double Stitching 
หากเราไม่ได้เตรียมตัวไปสำหรับตอบคำถามที่เป็นดีเทลเล็กๆน้อยๆแล้วไปคิดสดเอาหน้างาน มีโอกาสสูงมากที่จะทำให้ลุคของแจ็คเก็ตตัวนั้นออกมาไม่เหมือนอย่างที่เราต้องการ เพราะดีเทลเหล่านี้เองครับที่จะบ่งบอกได้ถึง “ระดับความเป็นทางการ” ของแจ็คเก็ตหรือสูทตัวนั้นได้เป็นอย่างดี
เมื่อมีคำว่า “ความเป็นทางการ” เข้ามามีส่วนในการตัดสูท ทำให้สูทที่เรียบที่สุด มีดีเทลให้เห็นออกมาด้านนอกน้อยที่สุดมักจะให้ลุคที่ Formal มากกว่า ดังนั้นการเลือกลักษณะของการเดินด้ายออกมาให้เห็นตามขอบปก บ่า ไหล่ ตามเส้น Dart และชายขอบแจ็คเก็ตก็มีส่วนสำคัญมากในการสร้าง Silhouette ที่เหมาะสม 
รายละเอียดการเดินด้ายแบบ Single Stitching ใน MTM Jacket โดย Sartoria Raffaniello ให้ความรู้สึกที่เป็นทางการมากกว่า

รายละเอียดการเดินด้ายแบบ Single Stitching ใน MTM Jacket โดย Sartoria Raffaniello ให้ความรู้สึกที่เป็นทางการมากกว่า

การเดินเส้นคู่หรือ Double Stitching มักจะพบเจอได้ใน Sport Jacket หรือ Casual Suit เช่น Cotton Suit, Linen Suit, Wool-Silk-Linen Jacket หรือเหล่า Summer Suit ทั้งหลายมากกว่าที่จะเป็น Formal Suit และในทางกลับกันการเดินด้ายเดี่ยวหรือ Single Stitching ก็จะพบเจอได้ใน Suit ที่ให้ความ Formal มากกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Casual Jacket หรือ Casual Suit ไม่สามารถเลือกการเดินด้ายแบบเส้นเดี่ยวได้
ท้ายที่สุดก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวของแต่ละท่านว่าจะอยากจะผสมผสานดีเทลแต่ละจุดบนตัวแจ็คเก็ตให้ออกมาเป็นอย่างไร แต่มีข้อควรระวังเรื่องระดับความเป็นทางการข้างต้นที่ต้องพิจารณาเพียงเท่านั้นเองครับ
Previous
Previous

สูท Bespoke จาก The Primary Haus - ช่างตัดสูทคนไทยสายเลือด Napoli

Next
Next

เบิ้ลปลายขากางเกงดีมั้ย?: Cuff หรือ No Cuff