Fitting Room 101: Lapel Roll หรือการม้วนตัวของปกแจ็คเก็ต

DSC00337_label.jpg
ปัจจัยหนึ่งที่สื่อถึงคุณภาพของการตัดเย็บแจ็คเก็ตได้ดี คือการม้วนตัวลงมาของปกแจ็คเก็ตจากปกคอลงมาถึงบริเวณที่จะปิดกระดุมเอวเม็ดที่ 2 หรือ Lapel Roll 
จะสังเกตได้เลยครับว่าปกแจ็คเก็ตตั้งแต่คอลงมาจะไม่แบนแนบสนิทไปกับตัวแจ็คเก็ต แต่จะเป็นการม้วนของปกที่ค่อยๆเกิดการคลายออกอย่างธรรมชาติเมื่อไล่จากคอลงมาถึงที่บริเวณที่ติดกระดุมเอว ปกแจ็คเก็ตจะไม่แบนแนบสนิทไปกับผ้าช่วงบริเวณอก การม้วนตัวนี้เกิดขึ้นได้จากการเย็บ Padding และ Canvas เข้าด้วยกันเพื่อสร้าง Structure ที่มีลักษณะเฉพาะ โดย Tailor แต่ละเจ้าก็จะมีเทคนิคในการสร้าง Roll นี้แตกต่างกัน บางเจ้าอาจจะจบที่กระดุมเม็ดแรก บางเจ้าจะไปจบที่กระดุมเม็ดที่ 2 แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามตัวปกจะไม่แบนเรียบเหมือนโดนรีดกดลงไป 
สังเกตบริเวณทขอบปกด้านใน (ตัว V) จะเห็นได้ว่าปกจะเกิดการโค้งตัว ไม่ได้เรียบแบนติดลงไป

สังเกตบริเวณทขอบปกด้านใน (ตัว V) จะเห็นได้ว่าปกจะเกิดการโค้งตัว ไม่ได้เรียบแบนติดลงไป

การม้วนตัวของปกแจ็คเก็ตนี้เกิดขึ้นจากการเทคนิคการเย็บ Canvas ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นเมื่อเราต้องการดูแลรักษา เช่น การรีด เราไม่จำเป็นต้องรีดเพื่อกดทับแต่อย่างใด เพียงแค่ Steam ไอน้ำอยู่ห่างๆก็เพียงพอแล้วครับ หากเรารีดกดทับลงบนสันปกให้เรียบลงไป จะมีโอกาสที่ปกจะพังและไม่สามารถสร้างการม้วนตัวที่สวยงามนี้ได้อีก
หากเราเห็นปกแจ็คเก็ตที่โดนกดแบนแนบสนิทไปกับตัวแจ็คเก็ตก็อาจจะเป็นไปได้ว่าแจ็คเก็ตตัวนั้นไม่ใช่แจ็คเก็ตที่ทำมาจาก Canvas หรือเป็นแจ็คเก็ตอัดกาวนั่นเองครับ
Previous
Previous

รีวิวแจ็คเก็ต Orazio Luciano “La Vera Sartoria Napoletana” - ช่างตัดสูทสายเลือดแท้จากนาโปลี

Next
Next

Sprezzatura 101: เล่นกับปกเสื้อโปโลหรือปกเสื้อเชิ้ต