DRAPERS: ASCOT 4-Ply หนึ่งในราชาแห่งผ้า High Twist

ASCOT TWO, FOUR AND SIX PLY รูปภาพจาก Drapers Italy

ASCOT TWO, FOUR AND SIX PLY รูปภาพจาก Drapers Italy

หลังจากที่ได้คุยกันในเรื่องผ้า Holland & Sherry Crispaire และ Fox Air ที่เป็นผ้า High Twist กันคร่าวๆไปแล้ว ผ้าอีก Bunch หนึ่งในหมวดหมู่ผ้า High Twist ที่ผมได้มีประสบการณ์ด้วยโดยผมเลือกใช้เป็นผ้าในการตัดกางเกง ไม่ใช่ผ้า Open Weave ปกติแบบ 2-Ply หรือ 3-Ply แต่มาถึง “4-Ply” ผ้าตัวนี้มาจาก Drapers ใน Bunch ชื่อ  “ASCOT TWO, FOUR AND SIX PLY”
ผมต้องขออนุญาตเท้าความเรื่อง Drapers สักนิดหนึ่ง 
Arturo Lolli ผู้ก่อนตั้ง Drapers ในปี 1956  รูปภาพจาก Drapers Italy

Arturo Lolli ผู้ก่อนตั้ง Drapers ในปี 1956 รูปภาพจาก Drapers Italy

ณ ปัจจุบันในวงการสิ่งทอหรือผ้าที่มีขายทั้งหมดไม่ว่าจะมาจากอังกฤษหรืออิตาลีจะแบ่งเป็น 2 แก๊ง แก๊งแรกคือโรงทอผ้าหรือผู้ผลิตผ้า และอีกแก๊งนึงคือพ่อค้าผ้า ในสมัยก่อนเวลาโรงทอผ้าผลิตผ้าออกมาขายก็ต้องอาศัยเหล่าพ่อค้าผ้าเพื่อนำผ้าออกไปขายในตลาด ก็มีบางโรงทอที่ลงไปขายเองและมีบางโรงทอที่ต้องพึ่งพาพ่อค้าเป็นตัวกลางในการดีลกับลูกค้า 
“Drapers” เค้าเป็นพ่อค้าผ้าสัญชาติอิตาลีมาตั้งแต่ปี 1956 แต่ด้วยความที่เค้าขายผ้าเก่งจัด ทำให้ Drapers ค่อยๆเติบโตมาโดยตลอด จนทำให้ Drapers กลายเป็นชื่อที่ได้รับความไว้วางใจในเรื่องผ้าและสิ่งทอไปทั่วโลก ในปี 2006 กลุ่มบริษัท Vitale Barberis Canonico หรือ VBC ได้เริ่มเข้าไปซื้อหุ้นของบริษัท Drapers โดย VBC เค้าก็ซื้อหุ้นเพิ่มเติมมาเรื่อยๆจนในปี 2018 ก็ปิดดีลด้วยการซื้อทั้งบริษัทไปเป็นหนึ่งใน Division ของตัวเอง เป็นการ Acquisition โดยสมบูรณ์
ดังนั้น ผ้าจาก Drapers ก็คือผ้าจาก VBC นี่เองครับ 
กางเกง Bespoke แบบ Single Pleated ตัดโดย The Primary Haus ผ้า Drapers ในเล่มผ้า ASCOT 4-Ply สีเทาอ่อน แจ็คเก็ต Safari ผ้า Irish Linen แบบ Made-To-Measure โดย Ascot Chang

กางเกง Bespoke แบบ Single Pleated ตัดโดย The Primary Haus ผ้า Drapers ในเล่มผ้า ASCOT 4-Ply สีเทาอ่อน แจ็คเก็ต Safari ผ้า Irish Linen แบบ Made-To-Measure โดย Ascot Chang

การซื้อชื่อบริษัทที่เป็นพ่อค้ามาก่อนหรือการซื้อบริษัทโรงทออื่นๆให้มาเป็นหนึ่งใน Subgroup เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในวงการสิ่งทอ ดังเช่น Harrison ที่เป็นเจ้าของ Subgroup หลายชื่อ 
แล้วผ้าที่อยู่ใน Bunch ของ Drapers แตกต่างกับผ้าใน Bunch ของ VBC รึเปล่า แต่ที่เห็นได้ชัดเจนแน่ๆคือ ราคาผ้าของ Drapers แพงกว่าผ้าที่อยู่ใน Bunch ของ VBC เองซะงั้น
ต้องแจ้งท่านผู้อ่านอีกเรื่องหนึ่งเช่นกันครับว่า VBC เค้ายังมีโมเดลธุรกิจเช่นเดิมเหมือนในอดีต โดยจะมีส่วนหนึ่งที่รับผลิตผ้าให้กับพ่อค้าในแต่ละประเทศหรือแต่ละร้านค้าแบบ “ตามสั่ง” นั่นก็คือทางผู้ซื้อจะสามารถบอกสเป็ค คุณภาพ และราคาที่อยากได้ให้กับ VBC แล้วเค้าก็จะจัดผ้ามาให้ตามต้องการ ฉะนั้นผ้า VBC จากแต่ละที่ราคาและคุณภาพจะไม่เหมือนกัน มีบวกลบขึ้นอยุ่กับสเป็คที่ทางร้านค้าหรือ Dealer ในแต่ละภูมิภาคได้ออเดอร์ไปทำตลาด 
ก็ไม่ต่างกันในกรณีระหว่าง Drapers และ VBC ครับ โดยรวมผ้าที่ทาง VBC ผลิตออกมาขายในชื่อของ Drapers เป็นผ้าที่มีคุณภาพ “จัดเต็มมากกว่า” แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมเคยลองเปรียบเทียบผ้าบาง Bunch หรือบางรหัสระหว่าง VBC และ Drapers ที่มีสีและการทอเหมือนกันแล้วก็ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง ดังนั้นหากชื่นชอบ VBC ตัวไหนแล้วก็ไป VBC ได้เลยครับ ไม่จำเป็นต้องคิดว่าผ้าของ Drapers ดีกว่าหากเราไปเปิดเจอผ้าตัวเดียวกันแต่คนละรหัสระหว่างสองเจ้านี้
กางเกงผ้า ASCOT 4-Ply ที่เป็นผ้า Wool 100% ใส่คู่กับ Orazio Luciano Double Breasted Jacket ผ้า Wool-Silk

กางเกงผ้า ASCOT 4-Ply ที่เป็นผ้า Wool 100% ใส่คู่กับ Orazio Luciano Double Breasted Jacket ผ้า Wool-Silk

*ณ ตอนนี้ VBC ทำเวอร์ชั่นที่เป็น VBC 4-Ply ออกมาภายใต้เล่มผ้าของ VBC แล้วครับ แต่ตอนที่ผมเลือกผ้าตัวนี้ยังมีเฉพาะในเล่มผ้า Drapers Ascot เพียงอย่างเดียว หากเปรียบเทียบราคาตัวที่เป็น VBC เองราคาถูกกว่าค่อนข้างเยอะ ผมลองจับเทียบกันก็ไม่รู้สึกว่ามีอะไรแตกต่างกัน ถ้าท่านผู้อ่านสนใจลองไปเปิดเล่ม VBC ดูได้เลยครับ
เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับเกี่ยวกับผ้า 4-Ply ตัวนี้
ผมเคยได้อธิบายไว้ในบทความก่อนๆแล้วเกี่ยวกับผ้า “High Twist” อย่างผ้า 2-Ply ชื่อ Crispaire ของ Holland & Sherry หากท่านผู้อ่านยังไม่รู้จักกับผ้า High Twist ลองไปอ่านบทความนี้ก่อนจะสามารถเข้าใจผ้า 4-Ply ตัวนี้ได้ดียิ่งขึ้นครับ 
เล่มผ้า DRAPERS - ASCOT TWO, FOUR AND SIX PLY จากโรงทอ Vitale Barberis Canonico

เล่มผ้า DRAPERS - ASCOT TWO, FOUR AND SIX PLY จากโรงทอ Vitale Barberis Canonico

ผ้าที่ถูกเรียกว่า 4-Ply หมายความว่า ในแต่ละเส้นด้าย 1 เส้นที่ใช้ในการทอผ้าออกมาเป็นผืน จะมีเส้นใยที่พันกันอยู่ในนั้นรวมกันทั้งหมด 4 เส้น ทำให้คุณสมบัติต่างๆที่เราพบเจอได้ในผ้า 2-Ply ยิ่งมีความชัดเจนนั่นก็คือ ผ้ายิ่งยับยากขึ้นไปอีก 
ปกติผ้า High Twist ทั่วไปเมื่อใส่ไปสักพักหนึ่งจะเริ่มมีรอยยับให้เห็นอยู่ตามบริเวณที่มีการพับงอของผ้า เช่นต้นขาหรือหลังเข่า แต่ 4-Ply ตัวนี้แทบจะไม่ยับให้เห็นเลย แน่นอนว่าถ้าหากเรานั่งอยู่กับที่นานๆรอยยับก็จะยังคงเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อลุกเดินไปสักพักรอยยับก็เด้งกลับหายไปเกือบหมด ผ้ามันมีความเด้งถึงขนาดที่ว่าตอนเดินแล้วรู้สึกถึงความดึ๋งดั๋งของผ้าบนขาเลยทีเดียวครับ
Texture ผ้า ASCOT 4-Ply จะสังเกตได้ถึงความฟูของตัวผ้าที่ค่อนข้างชัดเจนจากการพันกันของ 4-Ply รูปภาพจาก Drapers Italy

Texture ผ้า ASCOT 4-Ply จะสังเกตได้ถึงความฟูของตัวผ้าที่ค่อนข้างชัดเจนจากการพันกันของ 4-Ply รูปภาพจาก Drapers Italy

การทิ้งตัวของผ้าก็เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในที่สุดเหมือนกัน ด้วยความที่ผ้าเป็น 4-Ply หรือมีการพันเส้นใยใน 1 เส้นด้ายมากกว่า 2-Ply ปกติ ทำให้ข้อเสียหนึ่งที่ตามมาของผ้าตัวนี้และน่าจะเป็นข้อเสียเดียวคือ น้ำหนักที่ค่อนข้างเยอะ (4-Ply มีน้ำหนัก 370 g/m เมื่อเทียบกับ Crispaire ที่ 280-310 g/m และ Fox Air ที่ 300 g/m) ซึ่งน้ำหนักผ้าค่อนข้างที่จะไปก้ำกึ่งกับผ้าสำหรับ Fall/ Winter หรือพวกผ้าที่เป็น Wool Flannel ที่ใส่กันในหน้าหนาว แต่ด้วยความเวทมนต์ของผ้า High Twist ที่มีความ Open Weave หรือมีช่องว่างระหว่างการทอที่เยอะ ทำให้ใส่จริงๆแล้วไม่ร้อนเลยครับ แต่ถ้าถามว่าร้อนกว่า 2-Ply มั้ย คำตอบคือร้อนกว่านิดเดียวครับ ใส่ในเมืองไทยได้สบายๆ
เรื่องน้ำหนักที่ค่อนข้างเยอะนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละท่านว่าชอบหรือไม่ชอบ เพราะเมื่อตัดออกมาเป็นแจ็คเก็ตหรือกางเกงแล้วอาจจะต้องเตรียมรับมือกับความรู้สึกของผ้าที่มีน้ำหนักอยู่บนตัวกันก่อนสักหน่อย แต่หากไม่ได้ติดอะไรกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาตรงนี้ ผมการันตีว่าผ้า 4-Ply สามารถให้ Drape ที่ไม่เหมือนผ้า High Twist แบบไหนเลย ด้วยน้ำหนักที่ค่อนข้างสูงและผ้าเด้งมาก ทำให้มันสามารถทิ้งตัวดิ่งลงมาได้เรียบเป้ะยังกับมีอะไรดึงปลายขากางเกงไว้ให้มันตึงอยู่ตลอดเวลา และผ้ายังสามารถรักษาความคมของจีบไว้ได้นานและดีมาก ผมจำได้ว่ารีดอัดจีบไปแค่ครั้งเดียวตอนได้รับกางเกงมา ที่เหลือก็ไม่ได้ไปยุ่งอะไรกับมันอีกเลยยกเว้นสตีมไอน้ำบ้างเพื่อ Maintenance 
ความรู้สึกขณะสวมใส่จริงๆ สามารถรับรู้ได้อยู่ตลอดเวลาครับว่า “เราใส่กางเกงอยู่” 
DSC05652_label.jpg
ฟังแล้วดูแปลกๆมั้ยครับ 
อย่างที่ผมได้กล่าวไปข้างต้นว่าผ้ามีน้ำหนักและเด้งมาก เมื่อใส่จริงจะรู้สึกถึงความเด้งของผ้าได้ตลอดเวลา และอีกส่วนหนึ่งคือสัมผัสของเนื้อผ้าจะอยู่ในฝั่งที่ค่อนข้าง Dry หรือความรู้สึกที่ว่าผ้ามีความแห้งและกรอบเมื่อใช้นิ้วมือลูบผ่าน เราจะรู้สึกถึง Texture ของเนื้อผ้าได้ชัดเจน ดังนั้นหากท่านผู้อ่านไม่ชอบความรู้สึกของผ้า Fox Air หรือชอบผ้าที่นิ่มและลื่นก็อาจจะไม่ชอบผ้าชนิดนี้เพราะให้ความรู้สึกคล้ายๆกัน
ผ้าลักษณะนี้ที่เป็น High Drape เมื่อใช้ไปสักพักผ้าจะนุ่มและเนียนผิวมากขึ้น รวมไปถึงเข้ารับกับสัดส่วนตัวของเราได้สวยกว่าเดิม ความรู้สึกสากในตอนแรกจะค่อยๆลดลง แต่ก็ไม่ได้หายไปจนหมด คล้ายกับผ้า Irish Linen และ Cotton ที่ตอนแรกๆจะค่อนข้างแข็ง ดูทื่อๆแปลกๆ แต่เมื่อเราใส่ใช้งานมันไปเรื่อยก็จะพบว่า ผ้าเหล่านี้เป็นผ้าที่ยิ่งเก่ายิ่งสวย
คำพูดในบทความคงจะไม่ชัดเจนเท่ากับได้ไปลองเอง ถ้าเป็นไปได้หากมีตัวลองหรือมีคนรู้จักใส่ผ้าตัวนี้อยู่ในไซส์ที่เราใส่ได้ไม่ว่าจะเป็นแจ็คเก็ตหรือกางเกง ผมอยากให้ไปลองสวมใส่ดูจริงๆ พอใส่แล้วลองอยู่กับมันสัก 10-20 นาทีนะครับ น้ำหนักของผ้าตัวนี้อาจจะสร้างความแปลกใจให้กับท่านผู้อ่านได้ หากเราไม่ได้ติดอะไรกับน้ำหนักผ้า ผมรับรองว่าเลือก 4-Ply ไม่ผิดหวังแน่นอนครับ
Previous
Previous

เบิ้ลปลายขากางเกงดีมั้ย?: Cuff หรือ No Cuff

Next
Next

Solaro: ผ้าพลังงานแสงอาทิตย์?